วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การจัดการห่วงโซ่อุปทาน

การจัดการห่วงโซ่อุปทานคืออะไร ?? (What is Supply Chain Management)
การจัดการห่วงโซ่อุปทานเกี่ยวข้องกับการประสานงารและร่วมมือกันตั้งแต่กระบวนการจากผู้ส่งมอบวัตถุดิบ ไปยังผู้ผลิต ผู้กระจายสินค้า ผู้แทนจำหน่าย จนกระทั่งผู้บริโภค เราสามารถจำแนกห่วงโซ่อุปทานได้ 2 ประเภท ได้แก่ ห่วงโซ่อุปทานที่เข้าสู่ผลิต และห่วงโซ่อุปทานที่เข้าสู่ลูกค้า ซี่งสอดคล้องกับการขายในบทนี้จะเน้นความสำคัญไปที่การปรับปรุงประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทานที่เข้าสู่ผู้ผลิตซี่งเป็นการแบ่งปันข้อมูลให้กับผู้จัดส่งสวัตถุดิบ
การจัดการห่วงโซ่อุปทานไม่ได้แค่ประกอบไปด้วยผู้ผลิตและผู้ซื้อเท่านั้น แต่ยังคงประกอบไปด้วยคนกลาง อย่างเช่น ผู้จัดส่งวัตถุดิบให้กับผู้ผลิตและลูกค้าของลูกค้า บางบริษัทอาจจะมีผู้จัดส่งวัตถุดิบเพียงแห่งเดียว สองแห่ง หรือ สามแห่ง อาจจะมีลูกค้าระดับบน ระดับล่าง จึงทำให้แต่ละบริษัทมีห่วงโซ่อุปทานที่เฉพาะเจาะจงสำหรับสินค้าที่มีความแตกต่างกัน การใช้คำว่าห่วงโซ่อุปทานจึงเป็นอะไรที่ค่อนข้างจำกัดจเห็นได้ว่าคำว่าเครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน สามารถสะท้อนให้เห็นการเชื่อมโยงระหว่างองค์กรและคู่ค้าทางธุรกิจได้ดีกว่า และการนำเทคโนโลยีการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ช่วยให้การไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายเป็นไปอย่างประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
องค์ประกอบพื้นฐาน 5 ประการของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
1. การวางแผน คือ กลยุทธ์ของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน บริษัทต้องมีแผนการสำหรับการบริหารทรัพยากรทั้งหมดที่ตอบสนองอุปสงค์ของผู้บริโภคสำหรับสินค้าหรือบริการขนาดใหญ่ การวางแผน คือ การพัฒนาชุดของเมทริกเพื่อดูแลห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้มันมีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำลง และมอบคุณภาพและคุนค่าสูงกับลูกค้า
2. แหล่งที่มา บริษัทต้องเลือกผู้จัดหาที่น่าเชื่อถืออย่างรอบคอบที่จะมอบสินค้าและบริการที่จำเป็นสำหรับการผลิตสินค้า บริษัทยังต้องพัฒนาชุดของกระบวนการตั้งราคา การส่งมอบและการชำระเงินกับผู้จัดหาและสร้างเมทริกสำหรับการดูแลและการปรับปรุงความสัมพันธ์
3. การผลิต เป็นขั้นตอนที่บริษัทผลิตสินค้าหรือบริการ สามารถบรรจุตารางกิจกรรมที่จำเป็นสำหรับการผลิต การทดสอบ การบรรจุและการเตรียมสำหรับการส่งมอบของห่วงโซ่อุปทาน การประเมินระดับคุณภาพ ผลผลิตและกำลังผลิตของคนงาน
4. การจัดส่ง เป็นชุดของกระบวนการที่วางแผนสำหรับและควบคุมการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและการเก็บรักษาสินค้าของผู้จัดหาถึงลูกค้าเดิมเต็มคำสั่งซี้อผ่านเครือข่ายของคลังสินค้า
5. การคืนกลับ เป็นขั้นตอนที่มีปัญหาที่สุดโดยทั้วไปในห่วงโซ่อุปทาน บริษัทต้องสร้างเครือข่ายสำหรับการรับสินค้าที่บกพร่องและสินค้าที่จัดส่งเกินและรองรับลูกค้าที่มีปัญหากับสินค้าที่ส่งไป
หลักการ 7 ประการในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
1. แบ่งประเภทลูกค้าโดยความต้องการในการบริหาร โดยไม่คำนึงถึงอุตสาหกรรมและจัดบริการให้ตรงกับกลุ่มนั้น
2. กำหนดเครือข่ายการขนส่งและให้ความสำคัญกับความต้องการในการบริการและกับการทำกำไรของกลุ่มลูกค้าที่ยังไม่ได้จัดประเภท
3. ฟังสัญญาณของอุปสงค์ของตลาดและวางแผน การวางแผนต้องยืดขยายสายโซ่ทั้งหมดไปตรวจจับสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์
4. ทำให้เห็นความแตกต่างของสินค้าที่ใกล้ชิดกับลูกค้าเพราะ บริษัทไม่สามารถจะจ่ายเพื่อคงสินค้าคงคลังเพื่อชดเชยกับการทำนายอุปสงค์ที่ไม่ดี
5. จัดการแหล่งของวัตถุดิบด้วยกลยุทธ์ โดยการทำงานกับผู้จัดหาที่สำค้ญคือ เพื่อลดต้นทุนโดยรวมของการเป็นเจ้าของวัตถุดิบและบริการ
6. พัฒนากลยุทธ์เทคโนโลยีห่วงโซ่อุปทานที่รองรับระดับที่ต่างกันของการตัดสินใจและให้มุมมองที่ชัดจนของการไหลของสินค้า บริการและข้อมูล
7. นำวิธีการประเมินการปฎิบัติงานมาใช้ที่ใช้ กับทุกความเชื่อมโยงในห่วงโซ่อุปทานและประเมินการทำกำไรจริงในทุกขั้นตอน
เทคโนโลยีสนับสนุการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
(Using Technology to Supply Chain Managrment)
1. ในสมัยแรกเริ่ม ช่วงปี คศ.1989-993 ซี่งใช้ระบบการสั่งซื้อสินค้าโดยเป็นการสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในขั้นตอนนี้อุปสรรคในการดำเนินงานที่สำคัญคือ เทคโนโลยี
2. ประตูการค้าอิเล็กทรอนิกส์ ช่วงปี ค.ศ. 1990-1994 เป็นอีกครั้งที่ใช้ระบบการสั่งซี้อสินค้าโดยการสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แต่เกี่ยวข้องกับฝ่ายต่าง ๆๆ มากขึ้นทั้งภายนอกและภายในองค์กรธุรกิจเอง จุดมุ่งหมายคือการนำห่วงโซ่อุปทานที่เข้าสู้ผู้ผลิต กับห่วงโซ่อุปทานที่เข้าสู่ลูกค้า มาใช้ร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย

3. การเคลื่อนไปสู่ธุรกิจค้าขายบนอินเทอร์เน็ต เป็นทางเลือกที่มีต้นทุนต่ำที่นำมาทดแทนการใช้ระบบการสั่งซี้อสินค้าโดยการสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบดั่งเดิม วัตถุประสงค์แรกของการนำอินเทร์เน็ตมาใช้คือเพื่อทำการสื่อสารกับผู้สรรจัดส่งวัตถุดิบในช่องทางของอินเทอร์เน็ตมากขี้น อย่างที่สองเพื่อให้ลูกค้าใช้ช่องทางการสื่อสารรทางอินเทอร์เน็ตในการสั่งซื้อสินค้า
ระบบโลจิสติกส์คืออะไร ? (What is Logistics)
โลจิสติกส์เป็นแนวคิดหลักที่ใกล้เคียงกับการจัดการห่วงโซ่อุปทาน อ้างถึงสถาบันขนส่ง (Institute of logistics Transportation)
"โลจิสติกส์ คือ การเคลื่อนย้ายของวัตถุดิบ ข้อมูล หรือเป็นการจัดการเชิงกลยุทธ์ของห่วงโซ่อุปทาน ห่วงโซ่อุปทานเป็นกิจกรรมที่ประสานร่วมมือกันภายในบริษัทและระหว่างบริษัทโดยมีจุดมุ่งหมายเพือสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ซี่งประกอบไปด้วยกระบวนการสรรหาวัตถุดิบ กระบวนการผลิต กระบวนการจัดจำหน่าย และ กระบวนการกำจัดของเสีย รวมทั้งกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้า การกักเก็บสินค้าและข้อมูลต่าง ๆ "
คำนิยามของโลจิสติกส์ค่อนข้างกว้าง โดยปกติแล้วไม่ได้หมายถึงห่วงโซ่อุปทานตลอดทั้งหมด แต่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานโดยเฉพาะในเรื่องของการขนส่งเข้ามาภายในและการขนส่งสินค้าออกไปภายนอกองค์กรหรือไปถึงมือลูกค้า ระบบโลจิสติกส์มีความสำคัญต่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพ และการจัดการทรัพยากรและถือเป็นส่วนสำคัญของห่วงโซ่อุปทาน
รูปแบบห่วงโซ่อุปทานแบบผลักและแบบดึง (Push and Supply Chain)
รูปแบบการผลักสินค้าไปสู่ลูกค้า คือ การที่ผู้ผลิตสินค้าใหม่ขี้นมาและบ่งชี้กลุ่มเป้าหมาย หลังจากนั้นผู้จัดจำหน่ายก็สรรหาวิธีที่จะขายสินค้าไปยังกลุ่มเป้าหมาย อีกแนวทางหนึ่งคือรูปแบบการดึงลูกค้าเข้าหาสินค้าซี่งมุ้งเน้นความสำคัญไปที่ความต้องการของลูกค้าเป็นหลักและเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าด้วยการทำวิจัยทางการตลาดและร่วมมือทำงานกับผู้จัดส่งวัตถุดิบและลูกค้าอย่างใกล้ชิดเพื่อพัฒนสินค้าใหม่ ห่วงโซ่อุปทานถูกสร้างขี้นเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้าและเพิ่มคุณภาพของการบริการ

ประโยชน์ของการจัดการห่วงโซ่อุปทานอิเล็กทรอนิกส์ (Benefit of e-supply chain management)
1. ลดเวลาในการสั่งซื้อและการขนส่งสินค้า
2. ลดต้นทุนการผลิต
3. จัดการกับสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขี้น
4. การคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าทำได้แม่นยำมากขี้น
5. ลดเวลาในการนำเสนอสินค้าใหม่
6. ปรับปรุงกระบวนการหลังการขาย

ระบบสนันสนุนข้อมูลห่วงโซ่อุปทานเข้าสู้ผู้ผลิต (IS-supported Upstream Supply Chain Management)

กิจกรรมหลักของการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่เข้าสู้ผู้ผลิตคือ กระบวนการสรรหาและการจัดส่งสินค้าเข้าสู่องค์กร ระบบข้อมูลถูกนำมาใช้เพื่อส่งเสริมกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคหลายรายได้นำเทคโนโลยีมาจัดการกับห่วงโซ่อุปทานที่เข้าสู่ผู้ผลิต ระบบสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของเทสโก้ช่วยให้ผู้จัดส่งวัตถุดิบเข้าถึงข้อมูลและปรับปรุงข้อมูล

ป้ายระบุข้อมูลสินค้าไปยังลูกค้า (Radio Frequcy Indentification Microchip:RFID)
ป้ายระบุข้อมูล เป็นนวัตกรรมใหม่ในห่วงโซ่อุปทานอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการใช้อย่างกว้างขวาง สามารถนำไปติดกับสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้าหรือสถานที่ที่มีการค้าปลีก ด้วยเทคโนโลยีการค้นหาที่สามารถช่วยประเมินระดับสินค้าที่มีอยู่ในคลังสินค้า มันสามารถอ่านค่าได้ในระยะทาง1ถึง6เมตร แต่ยังคงมีหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ป้ายระบุข้อมูล ที่สามารถสร้างความหายนะให้กับบริษัทได้เช่นเดียวกัน

การจัดการขนส่งไปยังลูกค้า (Outbound Ligistic Management)
ความสำคัญของการขนส่งสินค้าเกี่ยวข้องกับการคาดหวังในการได้รับบริการการขายทางตรงผ่านเว็บไซด์ การขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญที่แสดงให้เห็นว่าธุรกิจได้ให้บริการตามที่สัญญาไว้ในเว็บไซต์ ถ้าในเว็บไซต์ระบุว่าลูกค้าจะได้รับหนังสือภายใน 2 วัน แต่หนังสือส่งถึงลูกค้าช้าไป 2 อาทิตย์ ลูกค้าก็จะไม่กลับมาซี้อสินค้าในเว็บไซต์นั้นอีกเลย

มุมมองที่สำคัญของการขนส่งสินค้าและความสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อรายได้ถูกแสดงให้เห็นฝ่านตัวอย่างของอเมซอน การขนส่งของอเมซอนใช้จำนวนเที่ยวในการขนส่งมากซี่งส่งผลให้ต้นทุนสูงขี้น ความท้าทายของบริษัทขนส่งต่าง ๆ คือ การส่งสินค้าตรงเวลาและให้บริการลูกค้าในทางที่ลูกค้าจะสามารถติดตาม ตรวจสอบสถานะของสินค้าทีสั่งออนไลน์ได้ ความท้าทายของบริษัทขนส่งต่าง ๆ คือ การส่งสินค้าตรงเวลาและให้บริการแก่ลูกค้าในทางที่ลูกค้าจะสามารถติดตาม ตรวจสอบสถานะของสินค้าที่ตนเองสั่งซี้อไว้ทางออนไลน์ได้
โครงสร้างพื้นฐานของระบบข้อมูลสำหรับห่วงโซ่อุปทาน
(Is infastructure for supply chain management)
ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลของห่วงโซ่อุปทานที่จำเป็น ทันสมัย และถูกต้องแม่นยำ ระบบข้อมูลมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ทุกฝ่ายที่เกียวข้องได้รับข้อมูลที่ชัดเจน เนื่องจากข้อมูลในห่วงโซ่อุปทานมีอยู่เป็นจำนวนมากผู้ให้ข้อมูลจำเป็นต้องรู้ว่าแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องการรู้จ้อมูลในเรื่องใด อย่างเช่น ลูกค้าต้องการทราบสถานะของการสั่งซื้อสินค้า ผู้จัดส่งวัตถุดิบต้องการเข้าไปดูในฐานข้อมูลขององค์กรเพื่อที่จะได้ทราบว่าลูกค้านั้นจะสั่งซื้อสินค้าในปริมาณมากอีกเมื่อไหร่ ความปลอดภัยของข้อมูลยังคงเป็นสิ่งสำคัญ การคาดการณ์ การควบคุม การเตือนสามารถผ่านทางอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต
การจัดการจำหน่ายสินค้าไปทั่วโลก (Managing Global Distribution)
กิจกรรม 7 ประการที่ผู้ผลิตพึงกระทำเมื่อนำสินค้าเข้าไปเปิดตลาดในต่างประเทศด้วยช่องทาลของอินเทอร์เน็ต มีดังต่อไปนี้
1. เลือกผู้จัดจำหน่าย ไม่ใช่ให้ผู้จัดจำหน่ายเป็นผู้เลือก
2. มองที่ความสามารถในการพัฒนาตลาดของผู้จัดจำหน่ายเป็นสำคัญ
3. ปฎิบัติกับผู้จำหน่าย เช่น คู่ค้าธุรกิจในระยะยาว ไม่ใช่เครื่องมือการในการทำตลาด
4. สนับสนุนการทำการตลาดทั้งในด้านการเงิน บุคคลากร
5. ควบคุมกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างต่อเนีอง
6. ต้องแน่ใจว่าผู้จัดจำหน่ายได้ให้ข้อมูลทางการตลาดและทางการเงินอย่างละเอียด
7. สร้างความสัมพันธ์กับผู้จำหน่ายในพื่นที่ท้องถิ่น














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น